โรค ภูมิคุ้มกันตัวเอง อีกหนึ่งโรคที่คุณเองจะต้องเพิ่มความระมัดระวังซึ่งอาการของโรคนั้นอาจจะมี อาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือบางทีอาจใช้เวลานานหลายปี ถึงจะแสดงอาการออกมา คุณจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง
SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเองโรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ” โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง”) เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป |
ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
- กรรมพันธุ์
- ฮอร์โมนเพศหญิง
- ภาวะติดเชื้อบางชนิด,โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
- แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต
- การตั้งครรภ์
- ยาบางชนิด
อาการของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อี
- เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน
- เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ
- เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด
- เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น
- เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้า
การรักษาของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
- ควร เข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อยๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
- พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
- ผล ของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
นอก จากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์
และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2
ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกๆ
มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดีๆ
ที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน
ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุ คือ
-
จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง
- จาก ภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
- จาก ยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เช่น
ยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone)
ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็น
สัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ
ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต
อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น
ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบาง ชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ
ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา
ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค
และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ
สิ่งสำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง
ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ
การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย
การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
อย่างเคร่งครัด