นาย แพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 กล่าวถึงผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
นาย แพทย์สุวินัย บุษราคัมวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง
โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เบาหวานลุกลามไปที่ตาว่า
“ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานกว่า 15 ปี จะมีโอกาสเป็นเบาหวานขึ้นตามากกว่า 80
เปอร์เซ็นต์ เมื่อเป็นเบาหวาน
เส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆในร่างกายจะเสื่อมสภาพลง
ใกล้บอดเพราะเบาหวาน
ซึ่ง การเสื่อมของเส้นเลือดนี้ไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะเกิดขึ้นที่ใด
พอเกิดเส้นเลือดที่ตาเสื่อม ร่างกายก็จะมีการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาแทน
และเส้นเลือดที่งอกขึ้นมาใหม่นี่เองที่ทำให้ตาของเราผิดปกติ
โดยอาจทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น หรือทำให้เกิดการรั่วของโปรตีนในลูกตา
ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านการมองเห็นได้”
“เบา หวานส่งกระทบได้ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา ไปจนถึงวุ้นในตา
ขึ้นอยู่กับว่า จะไปกินตรงก่อน ถ้าเกิดเป็นที่เลนส์ตาก็จะทำให้ตาบวม
เป็นต้อกระจก ต้อหิน แต่ถ้าเป็นที่จอตาก็จะทำให้เห็นภาพดำๆ เบลอๆ ไป
หรือว่าเหมือนมีเงาๆ อยู่ตลอดเวลา เกิดเลือดออกในจอตา
และอาจรุนแรงถึงตาบอดได้”
วิธีหลีกเลี่ยงเบาหวานคุกคามดวงตา
- ควบ คุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย เพราะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหากควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีเท่าไร โอกาสที่เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงดวงตาจะมีความยืดหยุ่นและคงทนก็จะยิ่งมีมาก ขึ้น
- ตรวจสายตาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาความเสี่ยงและการรั่วของโปรตีนในตาซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นของอาการผิดปกติที่ดวงตา
- ระมัด ระวังเรื่องการใช้สายตาเป็นพิเศษ ไม่ควรเพ่งมาก อ่านหนังสือในบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ และเมื่อมีอาการผิดปกติที่ตา เช่น ตาพร่ามัว ตาบวม ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
- อย่าซื้อยามาหยอดตาเองโดยเด็ดขาด เพราะยาบางตัวอาจกระตุ้นให้เกิดอันตรายถึงตาบอดได้
เพราะเบาหวานจึงต้องตัดขา
แม้ จะรู้ว่าเบาหวานเป็นโรคเงียบที่ซ่อนเร้น และรักษาไม่หาย
แต่เหตุใดอาการเบาหวานของบางคน
ถึงลุกลามใหญ่โตจนต้องตัดอวัยวะสำคัญของร่างกาย ซึ่งคุณหมอสุวินัย
ได้ขยายความไว้ดังนี้
“เบา หวานเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเส้นเลือดได้ง่าย
เพราะพอเป็นแล้วจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติสองอย่างคือเส้นประสาทส่วนปลาย
เสื่อม ซึ่งคนไข้เบาหวามมักจะเกิดอาการชาบริเวณปลายขา ปลายมือ
เวลาเป็นแผลจึงไม่รู้ตัว และทำให้เส้นเลือดตามร่างกายเสีย
เพราะคนเป็นเบาหวานเส้นเสือดส่วนปลายจะเสื่อม
พอเป็นแผลก็ทำให้เลือดไปเลี้ยงตรงที่เป็นแผลไม่ดี ทำให้
เป็นแผลเรื้อรังไม่หายสักที”
“หลาย คนอาจเข้าใจว่าการเสียขา เพราะเบาหวานไปหนึ่งข้าง
เท่ากับเราเสียไป 50 เปอร์เซ็นต์นะ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราเสียไปแล้วถึง
70 เปอร์เซ็นต์ เพราะขาของเราเกี่ยวโยงโดยตรงกับระบบของการทรงตัว
การถูกตัดขาจึงถือเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะจะทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป เช่น
ต้องออกจากงาน เดินไม่คล่อง เป็นภาระคนอื่น”
“ส่วน ใหญ่คนไข้ร้อยทั้งร้อย ไม่ยอมให้ตัดหรอก
แพทย์เองเราก็พยายามป้องกันให้ได้มากที่สุด เพราะเข้าใจ ซึ่งก่อนที่จะตัด
หมอต้องดูลักษณะของแผลก่อนว่าล้างได้ไหม ถ้าจำเป็นก็ต้องตัด
เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลาม จนติดเชื้อในกระแสเลือด
เกิดอาการช็อคและเสียชีวิตได้”
วิธีดูแลเท้าขณะป่วยเป็นเบาหวาน
- ตรวจดูเท้าทุกวัน ถ้ามีแผลหรือมีการอักเสบแม้เพียงเล็กน้อย อย่านิ่งดูดายต้องไปปรึกษาแพทย์ทันที
- รักษาเท้าให้สะอาด ล้างเท้าทุกวันและเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า
- ไม่ ควรเดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าแตะนุ่มๆ เมื่อเดินอยู่ในบ้าน และเมื่อออกจากบ้านควรเลือกรองเท้าพื้นนิ่ม ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป ทั้งนี้หากมีรอยแผลที่เท้า แสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม
- ควร เดินออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละประมาณ 30 นาที กรณีเดินแล้วปวดน่อง ควรฝืนเดินต่ออีก 5-10 ก้าว เพื่อเพิ่มการสร้างเนื้อเยื่อของขาให้ดีขึ้น
- ควรตัดเล็บเท้าทุก 1-2 สัปดาห์ ก่อนตัดเล็บควรแช่เท้าน้ำอุ่น ไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส นาน 10-15 นาที จะทำให้เล็บอ่อน และตัดง่าย
- เมื่อ สังเกตเห็นความผิดปกติของเท้า เช่น สี มีอาการบวมช้ำเนื้อแข็ง มีตาปลา เป็นต้น อย่านิ่งดูดายรีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นเป็นสัญญาณอันตรายของความผิดปกติ และอาจนำไปสู่การถูกตัดขาได้
ทั้ง นี้คุณหมอสุวินัย กล่าวว่า
ความน่ากลัวของโรคนี้อยู่ที่โรคแทรกซ้อนที่ตามมามากมาย
ด้วยเหตุนี้คนเป็นเบาหวานจึงมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้มากกว่าคนปกติ
ถึง 3 เท่า
“จาก สถิติพบว่ากว่า 50
เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่ต้องล้างไตเกิดจากเบาหวานมากกว่า
เพราะจากการศึกษาพบว่า ไตมีหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกาย
ซึ่งต้องทำงานตลอดเวลา
ด้วยเหตุนี้เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงมาก
ไตก็จะยิ่งทำงานหนัก และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติตามมา เช่น ขาบวม
ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว ไม่มีแรง ปวดหัวใจ
เป็นมากๆหากไม่ได้รับการฟอกไตก็อาจทำให้เกิดการช็อคและเสียชีวิตได้”
วิธีป้องกันเบาหวานรุกรานไต
- จำกัดอาหารรสเค็มโดยเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้ไตทำงานได้หนักขึ้น
- ตรวจสอบการทำงานของไต โดยการไปตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะอย่างน้อยปีละครั้ง
- เมื่อมีอาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบขัด ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ควรไปพบแพทย์
- ยาทุกชนิดมีผลกับการทำงานของไต ดังนั้นก่อนใช้ยาต้องปรึกษาแพท