วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง


โรค ภูมิคุ้มกันตัวเอง อีกหนึ่งโรคที่คุณเองจะต้องเพิ่มความระมัดระวังซึ่งอาการของโรคนั้นอาจจะมี อาการเฉียบพลันและรุนแรง หรือบางทีอาจใช้เวลานานหลายปี ถึงจะแสดงอาการออกมา คุณจึงต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง

SLE โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง

โรค เอส แอล อี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคลูปุส (มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า ” โรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง”)  เป็นโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายของเราชนิดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงไป

ภูมิ ต้านทานชนิดนี้เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี้ (ANTIBODIES) ซึ่งปกติจะมีหน้าที่จับและทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคจากภายนอกร่างกาย แต่โปรตีนชนิดนี้ ในผู้ป่วยโรคลูปุสจะจับและทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วย โรคลูปุสเองขึ้นกับว่าจะจับอวัยวะใดเช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็ จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง สาเหตุ
ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี แน่ชัด แต่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
  1. กรรมพันธุ์
  2. ฮอร์โมนเพศหญิง
  3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด,โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
  1. แสงแดดโดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต
  2. การตั้งครรภ์
  3. ยาบางชนิด
อาการของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
โรค เอส แอล อี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานาน หลายปี อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ มีอาการเป็นๆ หายๆ ได้แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลายๆ ระบบของร่างกายโดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็นโรค เอส แอล อี
  1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน
  2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ
  3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้าโดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด
  4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น
  5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้าตามเท้า
การรักษาของผู้ป่วย โรคเอส แอล อี
ในการรักษาโรค เอส แอล อี ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
  1. ควร เข้าใจลักษณะของโรคต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเอส แอล อี เป็นโรคเรื้อรัง การดำเนินของโรคจะเป็นไปเรื่อยๆ โดยอาจมีการทุเลาหรือกำเริบขึ้นได้เป็นระยะตลอดเวลา หรือกำเริบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
  2. พยาธิสภาพการเกิดโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด
  3. ผล ของการรักษา และความอยู่รอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับว่ามีอวัยวะใดบ้างที่เกี่ยวข้องหรือมี การอักเสบ ความรุนแรงของโรค ความรวดเร็วในการประเมิน ความรุนแรงและการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
นอก จากนี้ยังขึ้นอยู่กับการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดของแพทย์ และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของการได้รับการรักษาของผู้ป่วยโดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรก ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกๆ มีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีมากหลายวิธีให้เลือกใช้ มียาปฏิชีวนะดีๆ ที่สามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อของผู้ป่วยได้ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ความอยู่รอดของผู้ป่วย เอส แอล อีในปัจจุบันดีกว่าสมัยก่อนมาก
สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วย เอส แอล อี เกิดได้จาก 3 สาเหตุ คือ
  • จากตัวโรคเองเช่น การอักเสบของไต สมอง หลอดเลือด ตลอดจนการแตกของเม็ดเลือดแดง
  • จาก ภาวะติดเชื้อกลไกพื้นฐานของโรค เอสแอล อี คือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ประกอบกับผู้ป่วยได้รับยาต่าง ๆเพื่อลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกายลง ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
  • จาก ยาหรือวิธีการรักษาการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับอาการว่าเป็นมาก เป็นน้อยในผู้ป่วยบางรายใช้แค่ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือ ยาลดอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ก็ควบคุมอาการได้
สำหรับ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ เช่น ยาเพร็ดนิโซโลน (prednisolone) ตั้งแต่ขนาดต่ำจนถึงขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานเป็น สัปดาห์หรือเป็นหลายเดือน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบในบางรายที่มีการอักเสบ ของอวัยวะสำคัญ เช่น ไต อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่มีผลข้างเคียงมากขึ้น เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบาง ชนิดแต่ให้เป็นครั้ง ๆ ในขนาดที่เหมาะสมหรือในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดมา ร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค และระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ สิ่งสำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรคแต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล อย่างเคร่งครัด

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง


        ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงมีหลายชนิด เช่น เม็ดเลือดแดงขนาดผิดปกติ เม็ดเลือดแดงติดสีผิดปกติ เม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติ เม็ดเลือดแดงมีสิ่งผิดปกติอยู่ภายในเซลล์ และเม็ดเลือดแดงเรียงตัวผิดปกติ
การตรวจรูปร่างลักษณะของเม็ดเลือดแดงโดยกล้องจุลทรรศน์จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่ง ช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี ความผิดปกติบางอย่างอาจจำเพาะเจาะจงสำหรับโรคบางอย่าง ในขณะที่ความผิดปกติบางอย่างอาจไม่จำเพาะเจาะจงแต่อย่างใด จำเป็นต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการวินิจฉัยโรค
เม็ดเลือดแดงขนาดผิดปกติ
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงในด้านขนาด เรียกว่า anisocytosis
ม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ เรียกว่า macrocyte เป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ โดยมีขนาดประมาณ 9-12 ไมครอน เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก และโรคตับ ในกรณีของโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามิน B12 หรือเกิดจากการขาดกรดโฟลิก อาจพบเม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นรูปไข่

  1. เม็ด เลือดแดงขนาดเล็ก เรียกว่า microcyte เป็นเม็ดเลือดแดงตัวแก่ที่มีขนาดเล็กกว่าปกติ มักพบว่ามีบริเวณติดสีจางกลางเซลล์กว้างกว่า 1/3 ของเซลล์ เม็ดเลือดแดงขนาดเล็กสามารถพบได้ในโรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก และในโรคโลหิตจางที่เกิดจากเม็ดเลือดแตก

เม็ดเลือดแดงติดสีผิดปกติ
เม็ดเลือดแดงติดสีน้อยกว่าปกติ เรียกว่า hypochromia เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีบริเวณติดสีจางกลางเซลล์กว้างกว่า 1/3 ของเซลล์ เนื่องจากปริมาณของฮีโมโกลบินภายในเซลล์ลดลง สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็ก และโรคโลหิตจางชนิดเรื้อรัง
เม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติ
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงทางด้านรูปร่าง เรียกว่า poikilocytosis สามารถแบ่งออกได้เป็น
  1. เม็ด เลือดแดงตัวเล็กกลม เรียกว่า spherocyte เป็นเม็ดเลือดแดงตัวเล็กกว่าปกติ มีลักษณะกลม ติดสีชมพูเข้มทึบทั้งเซลล์ ไม่มีบริเวณติดสีจางกลางเซลล์ เม็ดเลือดแดงตัวเล็กกลมสามารถพบได้ในโรคโลหิตจางที่เกิดจากเม็ดเลือดแตก โรคโลหิตจางที่เกิดในทารกแรกเกิด และโรคโลหิตจางตัวกลมเล็กที่เป็นแต่กำเนิด
  2. เม็ด เลือดแดงรูปเป้า เรียกว่า target cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เห็นมีจุดกลมสีชมพู อยู่ตรงกลางคล้ายรูปเป้า สามารถพบได้ในภาวะความผิดปกติของฮีโมโกลบิน และโรคตับ
  3. เม็ด เลือดแดงรูปปาก เรียกว่า stomatocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่บริเวณติดสีจางกลางเซลล์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรืออาจคล้ายรูปปาก ในภาวะปกติบริเวณติดสีจางกลางเซลล์จะมีลักษณะกลม เกิดขึ้นเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีการสูญเสียโครงรูปบนด้านหนึ่งของสบริเวณผิว เม็ดเลือดแดงรูปปากสามารถพบได้ในโรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะเสียสมดุลของสารเกลือแร่ และความผิดปกติชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิด
  4. เม็ดเลือดแดงรูปไข่ เรียกว่า ovalocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะคล้ายรูปไข่ บางเซลล์อาจเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะคล้ายซิการ์ เรียกว่า elliptocytes เซลล์ทั้งสองชนิดนี้สามารถพบได้มากในโรคชนิดเป็นมาแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ้างในภาวะโลหิตจางชนิดต่างๆ
  5. เม็ด เลือดแดงรูปหยดน้ำตา เรียกว่า teardrop เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายหยดน้ำตา เม็ดเลือดแดงรูปหยดน้ำตาสามารถพบได้ในภาวะไขกระดูกเป็นพังผืด โรคโลหิตจางขาดวิตามิน B12 โรคของไขกระดูกบางชนิด โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแตก
  6. เม็ด เลือดแดงรูปหนามแหลม เรียกว่า burr cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหนามแหลมกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอบนผิวของเม็ด เลือดแดง เม็ดเลือดแดงรูปหนามแหลมสามารถพบได้ในภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะเสียเลือดเฉียบพลัน มะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคขาดเอนไซม์บางชนิด
  7. เม็ด เลือดแดงรูปเศษเสี้ยว เรียกว่า schistocyte เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างลักษณะเป็นเศษชิ้นต่าง ๆ รูปร่างไม่แน่นอน เม็ดเลือดแดงรูปเศษเสี้ยวสามารถพบได้ในภาวะเม็ดเลือดแตกในหลอดเลือดเล็ก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกรุนแรง และ ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดชนิดแพร่กระจาย
  8. เม็ด เลือดแดงรูปหนามสั้นยาวไม่เท่ากัน เรียกว่า acanthocyte เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีหนามสั้นยาวไม่เท่ากัน และการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ ยื่นออกมาจากขอบของเม็ดเลือดแดง นอกจากนั้นยังมีขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดงปกติ และไม่เห็นบริเวณติดสีจางกลางเซลล์ สามารถพบได้ในโรคสารไขมันในร่างกายผิดปกติ และโรคตับบางชนิด
  9. เม็ด เลือดแดงรูปเคียว เรียกว่า sickle cell เป็นเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายเคียว หรือพระจันทร์เสี้ยว เกิดขึ้นเนื่องจากมีการก่อตัวขึ้นของโพลิเมอร์ของฮีโมโกลบิน เอส เกิดเป็นรูปร่างคล้ายแท่งภายในเม็ดเลือดแดง สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคฮีโมโกลบิน เอส ซี และโรคฮีโมโกลบิน เอส บี

เม็ดเลือดแดงมีสิ่งผิดปกติอยู่ภายในเซลล์
การที่พบลักษณะบางอย่างผิดปกภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกว่า inclusions
  1. Basophilic stippling จะพบลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ อาจเล็กหรือใหญ่ ติดสีฟ้า-เทา อยู่ภายในเม็ดเลือดแดง เกิดขึ้นเนื่องจากมีการรวมกลุ่มกันของไรโปโซม สามารถพบได้ในภาวะตะกั่วเป็นพิษ ภาวะการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินผิดปกติ โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก
  2. Pappenheimer bodies เป็นสิ่งผิดปกติภายในเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ มักมีหลายเม็ด ติดสีม่วงแดง หากนำเม็ดเลือดแดงนี้ไปย้อมหาเหล็ก จะให้ผลบวก สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางซิเดโรบลาสติก โรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะหลังการตัดม้าม และโรคฮีโมโกลบินผิดปกติ
  3. Howell-Jolly bodies มีลักษณะเป็นเม็ดกลมติดสีม่วงแดงขนาดค่อนข้างใหญ่ภายในเม็ดเลือดแดง เป็นส่วนที่หลงเหลือของนิวเคลียส สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางเม็ดเลือดแตก ภายหลังการตัดม้าม และโรคโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติก
  4. Cabot rings เป็นเส้นสายใยบาง ๆ ย้อมติดสีม่วงแดง มักมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน หรือรูปเลข 8 เชื่อว่าอาจเป็นส่วนของสปินเดิลไฟเบอร์ สามารถพบได้ในโรคโลหิตจางขาดวิตามิน B12 และภาวะตะกั่วเป็นพิษ

เม็ดเลือดแดงเรียงตัวผิดปกติ
  1. Rouleaux formation เป็นการที่เม็ดเลือดแดงมาจับซ้อนทับกันเป็นสายยาว เกิดขึ้นเนื่องจากมีปริมาณของโกลบูลินหรือไฟบริโนเจนผิดปกติ โดยมีเพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด สามารถพบได้ในโรคมัลติเปิลมัยอีโลมา และแมโครโกลบูลินนีเมีย
  2. Agglutination เป็นการที่เม็ดเลือดแดงมีการจับกลุ่มกัน สามารถพบได้ในภาวะที่มีแอนติบอดีชนิดเย็น และในภาวะเม็ดโลหิตแตกจากโรคออโตอิมมูน


วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

Stem Cell เม็ดเลือดคืออะไร?


มนุษย์เราทุกคนต้องมีเลือดอยู่ในร่างกาย มีจำนวนและชนิดของเซลล์เม็ดเลือดมากมายในเลือด เซลล์เม็ดเลือดทุกเซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่สร้างและ ผลิตในไขกระดูก…
มนุษย์เราทุกคนต้องมีเลือดอยู่ในร่างกาย มีจำนวนและชนิดของเซลล์เม็ดเลือดมากมายในเลือด เซลล์เม็ดเลือดทุกเซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่สร้างและ ผลิตในไขกระดูก โดยทั่วไปในทางปฏิบัติ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดมักจะถูกเรียกว่าภเซลล์ต้นกำเนิด (หรือ stem cell)ภตัว stem cell นี้มักได้รับคำจำกัดความว่าเป็นเซลล์พ่อแม่ (parent cell) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถแบ่งจำนวนเซลล์ เจริญเติบโต และพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีความสมบูรณ์และเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดสามารถพบได้ในได้จากไขกระดูก เลือดสายสะดือของทารกแรกเกิด และพบได้จำนวนน้อยในกระแสเลือดที่ไหลเวียนในร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดจะผลิตเซลล์เม็ดเลือดที่พัฒนาแล้วได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้
เม็ดเลือดแดงภทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ในอวัยวะต่างๆภทั่วร่างกาย
เม็ดเลือดขาวภทำหน้าที่ต่อสู้และต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
เกร็ดเลือดภทำหน้าที่ช่วยสร้างลิ่มเลือดในการอุดห้ามเลือด ให้เลือดหยุดไหลจากเส้นเลือดฝอยที่ฉีกขาด
มีเม็ดเลือดขาวที่สำคัญ 2 ชนิดคือ
นิวโตรฟิล ทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราโดยการกำจัดทำลายเชื้อโดยตรง
ลิมโฟซัยท์ ทำหน้าที่ทำลายการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราโดยทำปฏิกิริยาในระดับเซลล์ หรือสร้างสารต่อต้านที่เรียกว่า แอนติบอดี

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

บร็อคโคลี่ ผักต้านมะเร็ง


มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องของการกินบร็อคโคลี่กับการต้านโรคมะเร็ง โดย เฉพาะหน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั้น เมื่อกินคู่กับบร็อคโคลี่จะทำให้มีผลที่สามารถต่อกรกับโรคมะเร็งได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้นเกือบ 2 เท่า
บร็อคโคลี่ เป็น ผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยเบตา-แคโรทีน(beta-carotene) เส้นใยอาหาร วิตามินC รวมไปถึงสารอาหารต่างๆอีกหลากหลายชนิด บร็อคโคลี่มีสารชัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้ตับขับสารพิษ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้านมะเร็ง คือสามารถป้องกันอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายเซลและทำลาย DNA ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้
การศึกษาของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์พบว่า หน่อหรือต้นอ่อนของบร็อคโคลี่นั้นมีเอนไซม์ไมโรซิเนส (myrosinase) และ มีปริมาณที่มากกว่าบร็อคโคลี่ต้นที่โตแล้ว ดังนั้นการกินทั้งบร็อคโคลี่และต้นอ่อนของมันจะให้ประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น กว่าการกินอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
การรับประทานบร็อคโคลี่เพื่อให้ได้ประโยชน์ในการต้านมะเร็งมากที่สุดนั้น จะต้องไม่ผ่านกรรมวิธีการปรุงอาหารที่มีระยะเวลานานเกินไป เพราะจะเป็นการทำลายเอนไซม์ไมโรซิเนส (myrosinase) หรือตัวเอนไซม์ที่สามารถย่อยแป้งและน้ำตาล และจะไปทำลาย sulforaphane อีกด้วย

TIP:
ควร เลือกบร็อคโคลี่ที่มีดอกแน่น กระชับ และมีสีเขียวเข้ม ในส่วนก้านควรจะเหนียวนุ่มและแข็งแรง หลีกเลี่ยงต้นที่มีดอกสีเหลือง ใบเหี่ยวเฉา และที่ก้านหนาหรือแข็งจนเกินไป

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

รวมสารพันโรคผู้สูงวัย

วัน ที่ 13 เมษายนของทุกปี นอกจากจะถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยหรือวันมหาสงกรานต์แล้ว ยังเป็นวันสำคัญอีกวันคือ “วันผู้สูงอายุ” ด้วย ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องหันมาใส่ใจและให้ความสำคัญกับผู้สูงวัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ ซึ่งในวัยนี้จะต้องระมัดระวังและใส่ใจดูแลมากกว่าวัยอื่นๆ เพราะยิ่งอายุเยอะก็มักจะเจอปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เยอะไปตามอายุด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ โรงพยาบาลกรุงเทพจะขอรวบรวมสารพันโรคที่ผู้สูงอายุควรระวังมาฝากกัน สำหรับโรคที่มักจะพบในวัยนี้ ได้แก่
1.โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ในผู้สูงอายุ โดยข้อที่พบอาการเสื่อมได้มาก คือข้อที่รับน้ำหนักตัว เช่น ข้อเข่า เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ อันประกอบด้วย ผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน กระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง
อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็น โรคข้อเข่า เสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น
อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียด หรืองอข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้เป็นมากขึ้นได้โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมาพบ แพทย์ก็มักจะมาเมื่ออาการต่างๆ เกิดขึ้นพอควรแล้ว หรือไม่สามารถประกอบภารกิจประจำวันได้เหมือนเดิม ซึ่ง อาการหลักๆ ก็คือ อาการปวด ขัด บวม ของข้อเข่า หรือในรายที่มีข้อเข่าโก่งอยู่บ้างแล้วก็มักจะมาด้วยเรื่องเข่าผิดรูป หรือทำให้เกิดปัญหาปวดมากขณะเปลี่ยนท่าเช่นจากนั่งเป็นยืน เมื่อเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีอาการของโรคซึ่งจะสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรค ถ้าหากว่าอาการที่เกิดขึ้นน้อย ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแต่เนิ่นๆ ก็สามารถชะลอการเสื่อมของข้อเข่านั้นๆ ได้
วิธีการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยชะลอ การเสื่อม ของข้อเข่านั้น ประกอบด้วยวิธีหลักๆ ดังนี้ หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามากๆ เช่น นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลายๆ ชั้น ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน  หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา ทานยาแก้ปวดเมื่อจำเป็นหรือทานเป็นครั้งคราว ใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะทางไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ
2.โรคกระดูกพรุน เป็นอีกโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ โรคกระดูกพรุนเกิดจากการลดลงของปริมาณกระดูกในร่างกายร่วมกับมีการเปลี่ยน แปลงโครงสร้างภายในของกระดูก เป็นผลให้ความแข็งแรงของกระดูกโดยรวมลดลง และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ โดยเฉพาะผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40% ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนมาก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกของผู้หญิงในกลุ่มวัยนี้ลดลงถึงร้อยละ 3-5 ต่อปี นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนยังพบได้ในภาวะผู้ป่วยที่ได้ รับการตัดรังไข่ 2 ข้าง ผู้ป่วยที่ได้รับแคลเซียมและวิตามินดีน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิดเช่นสารสเตียรอยด์หรือยากันชักบางชนิดและการ สูบบุหรี่ก็อีกเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น โดย ทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะมีอาการแสดงซึ่งได้แก่กระดูกหัก ตำแหน่งที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุนได้แก่บริเวณข้อสะโพก,ข้อมือหรือกระดูก สันหลังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ นอกจากนี้ อาการหลังโกง หรือตัวเตี้ยลงมากกว่า 2 เซนติเมตรนั้นอาจเป็นอาการของโรคกระดูกพรุนที่มีการยุบตัวลงของกระดูก สันหลังจึงเป็นภัยเงียบเพราะคนไข้จะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้แล้ว
โรคกระดูกพรุนวินิจฉัยได้จากการตรวจค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วย เครื่องมือ DEXA นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ เช่น การขาดวิตามินดี และสามารถตรวจประเมินอัตราการสร้างและสลายของกระดูกได้ การตรวจเพิ่มเติมนี้เพื่อใช้ในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและติดตามผลการ รักษาอย่างเหมาะสมต่อไป สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดอัตราการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก ทั้งนี้การให้ยา แพทย์จำเป็นต้องตรวจคัดกรองผู้ป่วย เพื่อพิจารณาให้ยาตามความจำเป็น จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนควรมาตรวจภาวะกระดูก พรุน ผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเสริมการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว นม และงาดำ โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม วันละ 1200 มิลลิกรัม ควบคู่กับวิตามินดี 800 ไอยู นอกจากนี้ควรเพิ่มการออกกำลังกายที่เป็นการลงน้ำหนักที่ข้อ เช่นการยกน้ำหนักและการเดิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก และควรมีการออกกำลังกายกลางแจ้งในเวลาเช้าหรือเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี
3.โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต มากกว่าร้อยละ 90 ของโรตความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนโดยปัจจัยเสี่ยงที่ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้แก่ การมีความเครียดสูง บริโภคอาหารรสเค็มหรือเกลือโซเดียมมาก ในผู้สูงอายุ มีการผนังหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวขึ้นและเสียความยืดหยุ่นอาจจะมีผลให้ความ ดันโลหิตในหลอดเลือดสูงขึ้น ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป โดยวัดขณะนั่งพัก 5-10 นาทีที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
โรคความดันโลหิตสูงระยะแรกส่วน ใหญ่ไม่มี อาการมีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อย คือ ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ ปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาต หรือเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นต้น โรคนี้ถ้าไม่ได้รักษาเป็นเวลานานๆ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกทำให้เป็นอัมพาต, หัวใจล้มเหลว, การทำงานของไตเสื่อมลง ทำให้เกิดโรคไตวายเรื้อรัง เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูง คือการควบคุมให้ต่ำกว่า 140 / 90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรัง ควรคุมให้ต่ำกว่า 130/80 มม.ปรอท
แนวทางการรักษา มีดังนี้ เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อยความดันจะลดเป็นปกติได้โดยไม่ใช้ยา ได้แก่ เลิกบุหรี่และเหล้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็มจัด) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลาและดื่มนมไขมันต่ำ ลดน้ำหนักส่วนเกิน และรู้จักคลายเครียด สำหรับผู้ที่ความดันยังคงสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท หลังจากปรับพฤติกรรมแล้วควรปรึกษาแพทย์ให้ยาลดความดันโลหิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษาและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะและเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น

4.โรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งหลายชนิดเป็นโรคที่พบมากขึ้นตามอายุ โรคมะเร็งเกิดจากการที่โรคที่เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายมีการเปลี่ยน แปลงแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว โดยอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงหรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะที่สำคัญต่างๆ โรคมะเร็งจะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โรคมะเร็งบางชนิดอาจจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก ถ้ามีประวัติครอบครัว ก็อาจจะมีโอกาสโรคสูงกว่าคนทั่วไป สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มะเร็งมีสาเหตุส่งเสริมได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหารแลและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ การดื่มสุราเพิ่มโอกาสเกิดโรคตับแข็งซึ่งอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งตับตามมา โรคมะเร็งหลายชนิดสามารถตรวจพบเจอได้ตั้งแต่ระยะ เริ่มต้นทำให้รักษาหายขาดได้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งหลายชนิดจึงมีความสำคัญ ใน ผู้สูงอายุหลังอายุ 50 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ โดยการตรวจอุจจาระ หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใน การประเมินปัญหาในลำไส้ใหญ่ และในผู้หญิงควรมีการตรวจแมมโมแกรมเต้านมซึ่งเป็นการตรวจด้วยรังสีเอกซเรย์ (X-Rays) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อค้นหาความผิดปกติที่เต้านม สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็กเกินกว่าแพทย์จะคลำได้ โดยปกติควรมีการตรวจทุก 1-2 ปี
5.โรคต้อกระจก เกิดจากการขุ่นของเลนส์ตาหรือแก้วตา ซึ่งโดยปกติจะมีลักษณะใสทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี สำหรับอาการของต้อกระจกส่วนใหญ่ เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นมัวจากบริเวณส่วนกลาง ในที่มีแสงน้อย เมื่อม่านตาขยาย แสงสามารถผ่านเข้ามาทางส่วนอื่นของเลนส์แก้วตาได้ อาการของโรคต้อกระจกจะมีสายตาค่อย ๆ มัวลงเหมือมีฝ้าหรือหมอกบัง เห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีสายตาสั้นขึ้นเรื่อยๆ เปลี่ยนแว่นบ่อยๆ จนกระทั่งแว่นตาก็ไม่สามารถช่วยได้ หรือเห็นสีต่างๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม สีจางลงหรือไม่สดใสเท่าที่เคยเห็น บางคนอาจเกิดการพร่าเวลาขับรถตอนกลางคืน สาเหตุ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น เลนส์แก้วตาจะขุ่นเพิ่มขึ้น จึงมีผลให้การมองเห็นลดลง นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ เป็นเวลานานก็สามารถทำให้เกิดต้อกระจกได้ด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ปล่อยทิ้งไว้นาน ต้อกระจกอาจสุก และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ต้อหิน หรือมีการอักเสบภายในลูกตา ทำให้มีตาแดงและปวดตาอย่างมากต้องรีบลอกต้อกระจกออกทันที ซึ่งหากปล่อยถึงระยะดังกล่าวอาจทำให้เกิดตาบอดได้ การที่ต้อกระจกกลายเป็นต้อหินเพราะต้อกระจกพองตัวไปกดในทางระบายน้ำของลูกตา หรือต้อกระจกละลายตัวแล้วเกิดการอักเสบในลูกตา
ในปัจจุบันยังไม่มียารับประทาน หรือยาหยอดชนิดใดที่จัดว่าได้ผลดีในการรักษาต้อกระจก และยังไม่มีเลเซอร์ที่สามารถสลายต้อกระจกได้ การรักษาหลักคือ การลอกหรือผ่าเอาต้อกระจกนั้นออกโดยจักษุแพทย์ ปัจจุบันนิยมผ่าตัดโดยวิธีสลายต้อกระจก โดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นเสียงความถี่สูง หลังจากผ่าเอาต้อกระจกซึ่งขุ่นมัวออกแล้ว จักษุแพทย์ก็จะนำเลนส์แก้วตาสังเคราะห์ใส่แทนตำแหน่งเดิม เพื่อให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ชัดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเลนส์สังเคราะห์นี้จะใสเหมือนกระจก แก้วตาเทียมนี้ไม่ต้องถอดออกมาล้างหรือเปลี่ยน และสามารถอยู่ได้ไปตลอดชีวิต
6.โรคสมองเสื่อม ตามข้อมูลทางสถิติ พบว่าอยู่ในอัตราสูงถึง 5-8 เปอร์เซ็นต์ของผู้อายุเกิน 65 ปี และจะมีอัตราการเกิดโรคสูงถึง 20  เปอร์เซนต์ และถ้าอายุเกิน 90 ปีขึ้นไปจะพบถึงครึ่งหนึ่งที่มีภาวะสมองเสื่อมเกิดขึ้นในผู้ป่วยภาวะสมอง เสื่อมจะพบว่ามีปริมาณ หรือจำนวนเซลล์ของสมองที่ทำงานลดลง จึงทำให้มีปัญหาด้านความจำ ความคิด อารมณ์และบุคลิกภาพของตนผิดไปจากเดิมอย่างมาก ใน ผู้สูงอายุ สาเหตุสมองเสื่อมที่พบบ่อยๆ มีสาเหตุ 2 ประการ คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพาต ไม่ว่าจะเกิดจากชนิดหลอดเลือดตีบ หรืออุดตัน หรือแตกก็ตาม โรคนี้พบได้ประมาณ 20% โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด และจะมีอาการเลวลงเรื่อยๆ โดยพบราว 70-80% ของผู้ที่มีสมองเสื่อม โรคนี้จะเป็นสาเหตุทำให้สมองฝ่ออย่างรวดเร็ว และมีปัญหาด้านความจำ, การพูด, ความคิด, การกระทำ, อารมณ์, การดำรงชีพ และบุคลิกภาพผิดไปอย่างชัดเจน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ว่าเกิดจากสิ่งใด มีหลายคนสันนิษฐานว่าเกิดจากพันธุกรรม การติดเชื้อ สารพิษตลอดจนระบบภูมิต้านทาน โดยปรกติแพทย์จะเป็นผู้ให้การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมโดยอาศัยข้อมูลจาก ประวัติ ระยะเวลาเป็นโรค อาการ อาการแสดง ประวัติครอบครัว การตรวจร่างกายทางระบบประสาทโดยละเอียด และการสืบค้นหาสาเหตุของโรคดังกล่าว ซึ่งอาจประกอบด้วย การเจาะเลือด การเอกเรย์ การตรวจคลื่นสมอง การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง การตรวจการไหลเวียนของเลือดสู่สมองและบางครั้งอาจมีการตรวจชิ้นเนื้อสมองโดย การผ่าตัดพิสูจน์ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวยาต่างๆ มากมาย ในการรักษาโรคนี้ แต่ยังไม่พบว่ามียาชนิดใดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคให้หายขาดได้ การรักษามุ่งเน้นที่การรักษาตามตามอาการแบบประคับประคอง เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ญาติผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีความสุข ไม่วุ่นวายหรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายต่างๆได้ ในรายที่มีอาการทางอารมณ์รุนแรงเอะอะโวยวายหรือวุ่นวายมากๆ บางครั้งก็จำ เป็นต้องให้ยาช่วยระงับจิตใจผู้ป่วย ขนาดยาและระยะเวลาที่ให้จำเป็นต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์
วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงอายุ คือการพักผ่อนให้เพียงพอ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้อีกทางหนึ่ง
บทความโดย
แพทย์หญิงพัณณิดา วัฒนพนม
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคมะเร็งในช่องปาก ข้อควรรู้และไม่ควรมองข้าม


โรค มะเร็งในช่องปากสามารถพบได้ 1 ใน 10 ทั้งชายและหญิง และพบได้ 3-5% ของโรคมะเร็งในช่องปากที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ซึ่งพบได้ในผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไปสามารถเป็นโรคมะเร็งในช่องปากได้

โรคมะเร็งในช่องปาก ข้อควรรู้และไม่ควรมองข้าม

หลายคนอาจไม่ทราบถึง โรคมะเร็งในช่องปาก นั้นเป็นอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดีกันดีกว่าค่ะ

มะเร็งช่องปากคืออะไร?
มะเร็งช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ซึ่งประมาณ 90-95% ของมะเร็งช่องปากจะเป็นชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) หรือเรียกย่อว่าชนิด เอสซีซี (SCC) สำหรับมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarci noma) หรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบได้น้อยมากๆ ดังนั้น ในบทความนี้ จึงกล่าวถึงเฉพาะมะเร็งช่องปากชนิด เอสซีซี เท่านั้น
มะเร็งช่องปากพบในใคร?
โรคมะเร็งช่องปากพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปโดย เฉพาะในผู้สูงอายุ อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งช่องปาก?
ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก แต่มีการศึกษาพบว่ามีปัจจัยบางอย่างเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ได้แก่
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์/เครื่องดื่มมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
อนึ่ง เมื่อทั้งสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากได้สูงกว่าคนปกติถึงประมาณ 15 เท่า และประมาณ 90% ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก เป็นผู้มีประวัติสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การกิน/เคี้ยว หมาก พลู ยาฉุน ยาเส้น เนื่องจากสิ่งต่างๆเหล่านี้ มีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
  • การ ระคายเคืองของเยื่อเมือกบุช่องปากจากฟันหัก/บิ่น ที่แหลมคมที่ไม่ได้รับการรักษาฟันผุจนทำให้เหงือกเป็นหนอง เพราะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังร่วมกับการระคายเคืองที่เกิดขึ้นซ้ำๆนานๆ เซลล์ของเยื่อเมือกบุช่องปากจึงอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง กลายไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
  • การ ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเอชพีวี (HPV, Human Papilloma virus) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก จากการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก (Oral sex)
  • เคยเป็นโรคมะเร็งในบริเวณศีรษะและลำคอมาก่อน
มะเร็งช่องปากมีอาการอย่างไรบ้าง?
อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก ได้แก่
  • มีฝ้าสีขาว (Leukoplakia) หรือสีแดง (Erythroplakia) ในเยื่อเมือกบุช่องปาก และ/หรือลิ้น
  • มีแผลในช่องปากที่รักษาไม่หายเป็นเวลานานเกิน 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป
  • มีตุ่ม หรือก้อนในช่องปากที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บปวด
  • ฟันโยก หรือหลุด หรือใส่ฟันปลอมไม่ได้ เนื่องจากมีก้อนเนื้อบริเวณเหงือก พื้นปาก หรือเพดานปาก
  • มีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร หรือการกลืนอาหาร จากการอุดกั้นของก้อนเนื้อ หรือจากการเจ็บจากแผลมะเร็ง
  • มีเลือดออกผิดปกติในช่องปากจากแผลมะเร็ง
  • มีก้อนที่ลำคอ ซึ่งคือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอโต คลำได้จากมีโรคมะเร็งลุกลาม แต่มักไม่มีอาการเจ็บปวด
อนึ่ง หากโรคมะเร็งช่องปาก แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมีอาการตามอวัยวะนั้นๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามกระดูกในส่วนต่าง ๆที่โรคแพร่กระจายไป มะเร็งช่องปากมีกี่ระยะ?
มะเร็งช่องปากแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1ก้อน/แผลมะเร็งมีขนาดโตน้อยกว่า หรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 2ก้อน/แผลมะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 3ก้อน/แผล มะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 4 เซนติเมตร และ/หรือ มีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ 1 ต่อมซึ่งขนาดโตไม่เกิน 3 เซนติเมตร เกิดขึ้นเพียงข้างเดียวของลำคอ
  • ระยะที่ 4ก้อน/แผล มะเร็งมีการลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ และ/หรืออวัยวะข้างเคียง และ/หรือ มีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่คอ 1 ต่อมแต่มีขนาดโตกว่า 3 เซนติเมตร และ /หรือ มีโรคลุกลามเข้าต่อม น้ำ เหลืองมากกว่า 1 ต่อม และ/หรือ ลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง ลำคอทั้ง 2 ข้าง และ/หรือ มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด (โลหิต) ไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบได้บ่อยคือ ปอด ตับ และกระดูก
รักษามะเร็งช่องปากอย่างไร?
ในการดูแลรักษาโรคมะเร็งช่องปากนั้น มีการรักษาหลักๆ 3 วิธี คือ การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัด ส่วนยารักษาตรงเป้ายังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา และยายังมีราคาแพงมหาศาลเกินกว่าผู้ป่วยทุกคนจะเข้าถึงยาได้
  1. การผ่าตัด มัก ใช้รักษาโรคระยะที่ 1 ระยะที่ 2 หรือระยะที่ 3 ซึ่งจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งร่วมกับเนื้อเยื่อปกติรอบๆก้อนมะเร็งออก และอาจทำการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองลำคอออกด้วย หลังผ่าตัด แล้วหากมีข้อบ่งชี้ อาจให้การรักษาต่อด้วยการใช้รังสีรักษา และ/หรือ การให้ยาเคมีบำบัด
  2. การใช้รังสีรักษา ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ การฉายรังสี และการฝังแร่ วิธีเลือกการรักษานั้นขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของก้อนมะเร็ง โดยทั้ง 2 วิธีนี้เป็นการรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ และ/หรือ ต่อม น้ำเหลืองบริเวณลำคอ และการรักษาอาจใช้รังสีรักษาเพียงวิธีการเดียว หรือใช้ร่วมกับการผ่าตัด และ/หรือการใช้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และดุลพินิจของแพทย์
  3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งทั่วร่าง กาย โดยการรักษาอาจใช้ร่วมกับการผ่าตัด และ/หรือ การใช้รังสีรักษา หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวหากเป็นการรักษาในผู้ป่วย ที่มีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด หรือ ตับ
การรักษามะเร็งช่องปากมีผลข้างเคียงอย่างไร?
ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากการรักษาในแต่ละวิธีนั้นจะแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ผู้ป่วยได้รับ และผลข้างเคียงอาจพบได้มากขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยหลายๆวิธีร่วม กัน
  • ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น อาการปวด การมีเลือดออกจากแผลผ่าตัด การติดเชื้อ การสูญเสียเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ผ่าตัด และการบาดเจ็บจากผ่าตัดถูกอวัยวะข้างเคียง
  • ผลข้างเคียงจากการรังสีรักษา คือ ในเรื่องของผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่างๆที่ได้รับรังสี (การดูแลผิวหนังและผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสีรักษา และการดูแลตนเองเมื่อฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ)
  • ผลข้างเคียงจากการให้ยาเคมีบำบัด เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ไขกระดูกทำงานต่ำลง ทำให้มีภาวะซีด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำทำให้มีเลือดออกได้ง่าย และมีเม็ดเลือดขาวต่ำ (ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา)
ป้องกันมะเร็งช่องปากได้อย่างไร?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งช่องปาก แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นควรดูแลสุขภาพในช่องปากทุกวัน ที่สำคัญคือ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเมื่อตื่นนอนเช้า และก่อนเข้านอน ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนแปรงฟันเข้านอน และพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและฟัน ทุกๆ 6-12 เดือน หรือบ่อยตามทันตแพทย์แนะนำ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : www.haamor.com

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites